ข่าวสาร

SEO Trends 2021 แนวทางการทำ SEO ให้ดีกว่าเดิม

การทำ SEO ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยตกยุคสมัยในการทำ Digital Marketing เลย จากประสบการณ์ตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานด้าน Ecommerce เมื่อสิบกว่าปีก่อน ชีวิตการทำงานก็เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้มาตลอดจนถึงขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ ส่วนตัวแล้วพูดได้เต็มปากว่าการทำ SEO มีความจำเป็นต่อทุกธุรกิจ และจะไม่มีทางหายไปจากการทำ Digital Marketing ได้เลย เพียงแต่มันอาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ หรือจะเปลี่ยนชื่อไปเท่านั้นเอง เพราะตราบใดที่คนเรายังมี ปัญหา มีความต้องการ อยากรู้ อยากเห็น อยากไป อยากซื้อ อยากอะไรก็แล้วแต่ ที่พึ่งเดียวในตอนนี้และอาจจะตลอดไปก็คือ Google ดังนั้นสิ่งที่คนทำการตลาดออนไลน์โดยเฉพาะการทำ Search Engine Marketing จะต้องทำอย่างสม่ำเสมอก็คือ การเรียนรู้ ติดตามอัพเดท ข่าวสารเรื่อง SEO อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้วางแผน และปรับกลยุทธ์ให้ทันกับเทคโนโลโยที่ Google ใช้ในการจัดอันดับแสดงผล บทความนี้มาอัพเดทกันว่าในปี 2021 ที่จะถึงนี้มีเรื่องอะไรบ้างที่เราจะต้องให้ความสำคัญในการทำ SEO

1) เพิ่มความน่าสนใจด้วย Featured Snippets
Featured Snippets ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนัก คนที่ทำ SEO อาจจะรู้จักกันในชื่ออื่นเช่น Answer Box หรือ Position Zero ที่เรียกว่า Position Zero เพราะ Featured Snippets จะแสดงผลอยู่ก่อนอันดับแรกนั่นแหละครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว Featured Snippets มักจะแสดงผลลัพธ์ในลักษณะของการให้ข้อมูลและตอบคำถามแบบสั้นๆ และมีรูปแบบที่พิเศษแตกต่างจากผลลัพธ์ทั่วไป โดยเฉพาะกับการค้นหาข้อมูลแบบ What is / คืออะไร หรือ How to / ทำอย่างไร ตามตัวอย่างนี้
2) WebP ไฟล์ฟอร์แมทใหม่สำหรับ image และ animation บนหน้าเว็บ
หนึ่งในปัจจัยที่คนทำ SEO ต่างรู้กันดีก็คือ เรื่องของ Website Speed หรือความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ ซึ่ง Google เองก็เคยกล่าวไว้ว่า เว็บไซต์ที่โหลดช้ามีผลต่อ Ranking ของเว็บไซต์ ดังนั้นคนที่ทำ SEO จึงค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และสิ่งหนึ่งที่่ส่งผลโดยตรงกับความเร็วของเว็บไซต์ก็คือรูปภาพและภาพเคลื่อนไหวที่ใช้บนหน้าเว็บ
ปกติแล้วฟอร์แมทรูปภาพบนหน้าเว็บที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือ JPEG, PNG และ GIF ซึ่งเป็นฟอร์แมทไฟล์ที่ใช้กันมาอย่างยาวนานแล้ว ดังนั้น Google จีงได้พัฒนาไฟล์ภาพแบบใหม่ที่เรียกว่า WebP ซึ่งมีข้อดีหลายๆ อย่างเมื่อเทียบกับไฟล์ฟอร์แมทแบบเก่า โดยเฉพาะขนาดไฟล์ที่มีขนาดเล็กกว่าฟอร์แมทเก่าค่อนข้างมาก ซึ่งก็ส่งผลให้เว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้น Users Experience ก็ดีขึ้นตาม User Signals ซึ่งเป็นค่าสำคัญของการทำ SEO ก็ย่อมดีขึ้นแน่นอน แล้วยิ่งพัฒนาโดย Google เอง ทำไม Google จะไม่ชอบล่ะ ถูกไหมครับ
3) Voice Search ไม่เร็วก็ช้า มาแน่ๆ
แม้จะพูดถึงเรื่องนี้กันมาสักหลายปีแล้ว แต่ที่ผ่านมาอาจจะไม่เห็นตัวเลขอะไรที่น่าสนใจมากนัก Voice Search ก็เลยกลายเป็นแค่ buzz word คำหนึ่ง แต่ต้องยอมรับกันว่าในปีสองปีที่ผ่านมานี้ มีความน่าสนใจอยู่หลายเรื่องเกี่ยวกับ Voice Search โดยเฉพาะความฉลาดขึ้นจากระบบ AI ของ Google ที่ทำให้เข้าใจภาษาต่างๆ ได้ดีขี้นมาก ตอนนี้แม้แต่ภาษาไทยเองถือว่าดึขึ้นอย่างมาก ใครที่ใช้ Google Assistant ลองไปเซ็ตติ้งให้เป็นภาษาไทยดูครับ ลองถามคำถามง่ายๆ เช่น “กี่โมงแล้ว” มันก็จะตอบเวลาปัจจุบันออกมา ที่น่าสนใจก็คือคำว่า กี่โมงแล้ว นี่ออกจะเป็นภาษาพูดแต่ Google Assistant ก็สามารถเข้าใจและตอบออกมาได้อย่างถูกต้อง
ตัวเลขเมื่อปี 2016 ที่ Google ระบุไว้บอกว่า 20% ของการค้นหาเป็นการค้นหาด้วยเสียง ซึ่งก็มีการเติบโตมาเรื่อยๆ และคาดการณ์ตัวเลขจาก Comscore ระบุว่า Voice Search จะคิดเป็นสัดส่วน 50% ของการค้นหาทั้งหมดในปี 2020 แม้จะดูเป็นตัวเลขอาจจะสูงไปสักหน่อยสำหรับพฤติกรรมของ Users ไทย แต่สุดท้ายแล้วเทรนด์นี้ก็ต้องมาในไม่ช้าแหละครับ เพราะอย่างที่บอกว่า Google เข้าใจภาษาไทยได้ดีขึ้นมากจริงๆ
4) AI Artificial Intelligence จากนี้และตลอดไป
เมื่อ Google ประกาศตัวว่าเป็น AI first company แล้ว ก็คงไม่ต้องสงสัยอะไรว่า AI (artificial intellingence) และ ML (machine learning) จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกโปรดักส์และเซอร์วิสของ Google นั่นรวมไปถึงเรื่องของ SEO อย่างแน่นอน เอาจริงๆ ในเรื่อง SEO นั้น AI ก็เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องบ้างแล้ว บางคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า RankBrain มาบ้่าง RankBrain ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของ AI ที่ Google นำมาใช้ในการช่วยจัดอันดับและวิเคราะห์ผลลัพธ์ว่าตรงกับความต้องการของการค้นหามากน้อยแค่ไหน และก็ทำการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ คำถามคือแล้วเราจะทำอย่างไร เมื่อ Google ใช้ AI ที่ฉลาดมากขึ้นทุกทีมาช่วยจัดการเรื่องของ SEO จะตอบคำถามแบบนี้ เราก็คงต้องมองไปที่วัตถุประสงค์ของการมี AI นั่นแหละครับ จะไปพูดถึงกระบวนการทำงานของ AI ก็คงจะลำบากและ Google ก็ไม่เคยให้รายละเอียดอะไรมากมายนัก สุดท้ายแล้วส่ิงที่ Google ต้องการให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะใช้ คน หรือใช้ AI ก็ตามที ก็เพื่อให้ผลลัพธ์การค้นหาออกมาตรงกับความต้องการ (User Intent) และถูกต้องมากที่สุด คำถามคือ Google จะรู้ได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ที่ไหนที่ดี เว็บไซต์ไหนที่ควรถูกนำมาแสดงผล คำตอบคำแบบง่ายๆ ก็คือ เนื้อหาที่ user ชอบนั่นแหละครับ และสิ่งที่จะบอกได้ว่า User ชอบหรือไม่ชอบ ก็คือส่ิงที่เราเรียกว่า User Signals เช่นค่า CTR, Dwell time หรือ Bounce Rate เป็นต้น ซึ่ง Google ก็จะนำข้อมูลนี้ไปวิเคราะห์ประมวลผลอีกที
ทำ SEO อย่างไร เมื่อ AI ฉลาดขึ้นทุกวัน
ตอบแบบตรงไปตรงมาก็คือ ทำเนื้อหาให้เกิดประโยชน์กับ User จริงๆ ทำเว็บไซต์ให้สวยและใช้งานง่าย พูดแบบรวบรัดก็คือ ทำทุกอย่างนั้นนั่นแหละครับ ไม่ว่าจะเป็น On-page SEO, Mobile-Friendly หรือ Backlink ก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้ว Google ก็ใช้ทุก Signals ในการประมวลผลอยู่ดี ยิ่ง Signals เยอะ ความถูกต้องแม่นยำก็ยิ่งสูงขึ้น สิ่งที่อยากจะย้ำก็คือ แม้ AI จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับ SEO มากเท่าไร แต่การทำ SEO นั้น เราไม่ได้ทำเพื่อให้ AI รักเรานะครับ แท้จริงแล้วการทำ SEO เป็นการทำให้ User รักเรามากกว่า เพราะถ้า User รักเรา AI ก็รักเรานั่นแหละครับ User signals มันฟ้องครับ 🙂
Happy Opitmization 🙂
ใครอยากทำ SEM ไปพร้อมกับ SEO สามารถลงเรียนคอร์ส Google Ads รอบสุดท้ายของปีนี้ได้นะครับ

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect