ข่าวสาร

แมวเหมียวอาจหน้าบูดบึ้ง แต่ใจจริงเกลียดทาสผู้ภักดีไม่ลง

แมวเหมียวอาจหน้าบูดบึ้ง แต่ใจจริงเกลียดทาสผู้ภักดีไม่ลง

บรรดาทาสแมวมักคิดน้อยใจกันว่า ความพยายามทุ่มเทแรงกายแรงใจเอาใจใส่ดูแลเจ้านายที่เป็นแมวเหมียวนั้น ไม่ค่อยจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา เพราะปฏิกิริยาของน้องแมวที่ตอบสนองต่อทาสผู้ภักดี มักเป็นความเฉยชาไม่ใส่ใจ หรือแม้กระทั่งออกอาการดุร้ายกัดข่วนให้ได้รับบาดเจ็บเสียด้วยซ้ำ

ความรักของทาสแมวที่เหมือนกับรักเขาข้างเดียวนี้ ทำให้บางครั้งดูเหมือนว่าแมวนั้นเกลียดชังทาสผู้เลี้ยงดูตนเอง ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับบรรดาคนรักแมวเป็นอย่างยิ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนักพฤติกรรมศาสตร์ได้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับแมวอย่างลึกซึ้ง พวกเขาพบว่าแมวนั้นไม่จำเป็นจะต้องเกลียดมนุษย์เสมอไป ทั้งยังมีความรักความผูกพันและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเหล่าทาสได้อย่างเหลือเชื่อ ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและการแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์ด้วย

แม้ว่าแมวอาจจะไม่ได้จงรักภักดีและเทิดทูนบูชาเจ้าของอย่างสุดตัวเหมือนสุนัข แต่ที่แน่ ๆ น้องเหมียวไม่ได้รังเกียจหรือเฉยชาต่อมนุษย์ที่มอบความรักให้อย่างแน่นอน

ผลการศึกษาทดลองในปี 2015 ซึ่งมีขึ้นในระหว่างการถ่ายทำสารคดี “แมวปะทะหมา” (Cats vs. Dogs) ของบีบีซี ชี้ว่าแมวเกิดความรู้สึกรักและผูกพันกับคนได้ แต่ในระดับที่ต่ำกว่าสุนัขเป็นอย่างมาก

นักประสาทวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างน้ำลายของหมาและแมวอย่างละ 10 ตัว มาวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบปริมาณของฮอร์โมนออกซิโทซิน (oxytocin) หรือฮอร์โมนแห่งความรักความผูกพัน ที่สัตว์เลี้ยงหลั่งออกมาเมื่อได้รับการสัมผัสลูบไล้เนื้อตัวอย่างอ่อนโยน ซึ่งผลปรากฏว่าน้องหมาหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมาสูงกว่าถึง 57.2% ในขณะที่น้องแมวหลั่งฮอร์โมนชนิดเดียวกันออกมาเพียง 12% เท่านั้น

ส่วนผลการศึกษาอีกชิ้นในปี 2021 พบว่าพฤติกรรมของแมวที่มักจะเย็นชากับมนุษย์นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเกิดขึ้นโดยทั่วไปเป็นวงกว้างอย่างที่เข้าใจกัน โดยดร.แดเนียล มิลส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์จากมหาวิทยาลัยลินคอล์นของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานวิจัยดังกล่าว บอกว่า “แมวสามารถมีความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้งกับเจ้าของได้ แต่นี่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบที่ซับซ้อน ซึ่งก็เป็นผลมาจากบุคลิกภาพของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างคนและแมวแต่ละคู่ที่ไม่เหมือนกันด้วย”

งานวิจัยข้างต้นสำรวจข้อมูลจากทาสแมวเกือบ 4,000 คน ทำให้สามารถจำแนกรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างน้องเหมียวกับคนเลี้ยงดูออกได้เป็น 5 แบบ ได้แก่ความสัมพันธ์แบบเปิด, ความสัมพันธ์แบบห่างเหิน, ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ, ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน, และความสัมพันธ์ที่เป็นมิตร ซึ่งผลการสำรวจพบว่าครึ่งหนึ่งของแมวกับคนเลี้ยงมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างเฉยชาต่อกัน ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งกลับมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ในรูปแบบที่มีความผูกพันทางอารมณ์ต่อกันอย่างมาก

ทีมผู้วิจัยบอกกับเว็บไซต์ Live Science ว่าความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างแมวกับทาสแมวนั้นมีอยู่อย่างแน่นอน เพราะทั้งสองฝ่ายใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันค่อนข้างมาก แต่ความรักความผูกพันนี้ไม่อาจเทียบได้กับความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขกับเจ้าของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพูดถึงการสานสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแมวที่โตเต็มวัยแล้ว

ผลการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2019 ชี้ว่าการบ่มเพาะสายใยความผูกพันระหว่างคนกับแมว จะต้องใช้ความพยายามทุ่มเทจากฝ่ายของทาสแมวมากกว่า เมื่อเทียบกับการสานสัมพันธ์ระหว่างคนกับสุนัข

ผลการศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยในปี 2008 ที่ระบุว่า แมวมีอัตราการเต้นของหัวใจถี่เร็วขึ้นและมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อได้พบหน้ากับคนเลี้ยงหรือคนที่มันเล่นด้วยจนคุ้นเคย ซึ่งแสดงถึงการที่มันรู้สึกตื่นเต้นดีใจ หรือคาดหวังว่ากำลังจะได้รับรางวัลที่ชื่นชอบ

ดร.แคลร์ ริชชี-โบโนต์ สมาชิกของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยลินคอล์น ซึ่งทำการศึกษาในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน อธิบายว่า “รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับแมวจะเป็นแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับ ‘การลงทุนทางอารมณ์’ หรือความพยายามทุ่มเทสร้างความผูกพันทางใจจากฝ่ายของมนุษย์เป็นหลัก โดยมีปัจจัยแวดล้อมในเรื่องของบุคลิกภาพเฉพาะตัว และความสามารถในการเข้าสังคมของแมวมาเกี่ยวข้องด้วย”

ผลการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในปี 2021 ชี้ว่าแมวมีแนวโน้มจะเข้าหาคนที่สามารถเข้าใจมัน และอ่านสัญญาณเชิงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มันแสดงออกมาได้ โดยต้องเปิดโอกาสให้มันได้เลือกและควบคุมการสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบที่พึงปรารถนาได้เอง เพราะสิ่งที่แมวเกลียดที่สุดคือการที่มีคนมาให้ความสนใจ หรือบีบบังคับให้มันสนใจในขณะที่มันไม่ต้องการ จนเกิดเป็นพฤติกรรมหลีกหนีหรือไม่เป็นมิตรต่อมนุษย์ขึ้นมาได้

ดร.ลอแรน ฟินกา ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมและสวัสดิภาพของแมว จากมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมเทรนต์ของสหราชอาณาจักร กล่าวสรุปว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าแมวไม่ชอบการควบคุมอย่างใกล้ชิด ทั้งไม่ชอบการจับต้องสัมผัสเนื้อตัวโดยบีบบังคับ อย่างไรก็ตาม แมวหลายตัวอาจแสดงออกทางอารมณ์หรือสื่อสารกับคนได้ไม่ดีนัก ทำให้ดูเหมือนว่าจู่ ๆ มันก็ไม่ชอบใจขึ้นมาขณะที่เรากำลังลูบเนื้อลูบตัวมันอยู่ดี ๆ ซึ่งสัญญาณความไม่ชอบใจที่ว่านี้ยากที่มนุษย์จะเข้าใจและตรวจจับได้แต่เนิ่น ๆ”

ขอบคุณข้อมูลจาก BBC.Com

💡คิดถึงงานวิจัย คิดถึง Survey Market Thailand

.

🎯 สนใจทำวิจัยการตลาด ติดต่อ หรือ ปรึกษาเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้นะคะ :

📱Tel : คุณเรด 065-387-5499 / คุณปลา 096-140-4854

💬 Line : https://lin.ee/1WIknkQ

✉️ Email : surveymarketthailand@gmail.com

🌐 Website : https://surveymarketthailand.co.th

.

#วิจัยออนไลน์ #วิจัยการตลาด #บริการด้านวิจัยตลาด #รับทำวิจัยภาคสนาม #รับแผนการตลาด #บริการการตลาดออนไลน์ #การตลาดออนไลน์ #Surveymarket #Businessplan2023 #รับทำการตลาดออนไลน์ #วิจัยปโท #โปรเจ็คจบ #งานวิจัย #วิจัยจบ #รับทำวิจัย #ปริญญาโท 

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect