ข่าวสาร

มาทำความรู้จัก 4 รูปแบบของ Hybrid Work ที่หลายบริษัทเลือกใช้

มาทำความรู้จัก 4 รูปแบบของ Hybrid Work ที่หลายบริษัทเลือกใช้

หลังผ่านช่วงเวลาวิกฤตโควิด-19 กันมา หลายๆองค์กรเริ่มเข้าสู่การทำงานแบบ Hybrid Work กันแบบเต็มตัว หลาย ๆ บริษัทสามารถเลือกวิธีการทำงานที่เหมาะสมกับการทำงานได้ แต่หลายองค์กรก็อาจจะยังหารูปแบบที่ลงตัวไม่ได้ซักที จะทำยังไงให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างการทำให้คนทำงานอย่างมี Productivity สร้างให้เกิดความร่วมมือในองค์กรสูงสุด ไปพร้อมๆกับความยืดหยุ่นในการทำงานที่พนักงานต้องการ

1.เลือกเข้าออฟฟิส 2 วันต่อสัปดาห์

Tyler Grange บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแห่งหนึ่งในอังกฤษตัดสินใจเลือกใช้วิธีการให้พนักงานเลือกเข้าออฟฟิส 2 วันต่อสัปดาห์ จากวันทำงานทั้งหมด 4 วันต่อสัปดาห์ (จันทร์-พฤหัสบดี) โดยนโยบายนี้ดำเนินมาแล้วมากกว่า 1 ปีจนถึงเวลานี้นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยพบว่านโยบายนี้เพิ่ม Productivity ในการทำงานถึง 23%

ผู้อำนวยการบริหาร Tyler Grange เล่าว่าบริษัทให้พนักงานเลือกได้ตามความเหมาะสมว่าจะเข้าออฟฟิสวันไหนและวันที่เข้าออฟฟิสก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในออฟฟิสถึง 8 ชั่วโมง เพราะพนักงานส่วนใหญ่จะทำงานภาคสนามกัน ขณะที่พนักงานส่วนใหญ่เลือกเข้าออฟฟิสวันจันทร์เพื่อเข้ามาพบกับหัวหน้างาน ส่วนเด็กๆจะเข้ามาเรียนรู้งานจากรุ่นพี่ และจะเข้ามาเขียนรายงานและสรุปงานตลอดสัปดาห์กันในวันพฤหัสบดี

วิธีการนี้สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการสื่อสารกันว่าจะเข้าทำงานกันในวันไหนเพื่อให้การประสานงานในทีมประสบความสำเร็จมากที่สุด

2.เข้าออฟฟิส อังคาร-พุธ-พฤหัส

รูปแบบนี้เป็นโครงสร้าง Hybrid Work ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั่นก็คือบริษัทบังคับให้พนักงานเข้าออฟฟิสในช่วง 3 วันกลางสัปดาห์คือ “อังคาร-พุธ-พฤหัสบดี” วิธีนี้ทำให้พนักงานมีวันเข้าออฟฟิสพร้อมกัน 3 วันและได้ความยืดหยุ่นจากการ WFH ในวัน “จันทร์” และวัน “ศุกร์”

ตัวอย่างนี้เกิดขึ้นกับบริษัท Public บริษัทที่ให้บริการด้านการเงินในสหรัฐอเมริกาที่เริ่มต้นด้วยการเลือกให้เข้าออฟฟิส 2 วันต่อสัปดาห์ โดยพนักงานส่วนใหญ่เลือกเข้าพร้อมกันในวัน “อังคาร” เนื่องจากตรงกับวันประชุมบริษัทที่เกิดขึ้นเดือนละ 2 ครั้ง หลังจากนั้นบริษัทก็มีนโยบายให้เข้าออฟฟิสวัน อังคาร-พุธ-พฤหัสบดี หลังจากพนักงานจำนวนมากเข้าออฟฟิสในช่วง 3 วันนี้กันส่วนใหญ่

ประโยชน์สำหรับวิธีการนี้ก็คือพนักงานได้รู้ว่าวันไหนที่เพื่อนร่วมงานจะเข้าออฟฟิสพร้อมๆกัน เกิดกลุ่มเพื่อนใหม่ๆขึ้นในที่ทำงาน และพนักงานก็มีความสุขที่ได้ทำงานกับคนอื่นๆและมีความชื่อมั่นซึ่งกันและกันเพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัทก็ให้ความยืดหยุ่น ให้ความ “เชื่อใจ” พนักงานไม่ได้มีการจับจ้อง จับผิดว่านั่งทำงานที่โต๊ะครบ 8 ชั่วโมงหรือไม่

3.เข้าออฟฟิส 1 สัปดาห์ต่อเดือน

บริษัท Assurance IQ บริษัทที่ให้คำปรึกษาในการเลือกประกันรูปแบบต่างๆ มีสำนักงานใน Seattle สหรัฐอเมริกา นำรูปแบบนี้มาใช้หลังจากทดลองการทำงานแบบ Hybrid หลายรูปแบบ โดย 1 สัปดาห์นี้จะถูกเรียกว่า Seattle Week

รูปแบบเข้าออฟฟิสแบบ 1 สัปดาห์ต่อเดือนเกิดขึ้นหลังจากออฟฟิสเปิดให้เข้ามาทำงานกันอีกครั้งหลังโควิด โดยพนักงานเข้าออฟฟิสไม่ตรงวันกันส่งผลใก้เกิดปัญหาในการทำงานร่วมกันเป็นทีม จากนั้นจึงเกิดไอเดียเข้าทำงานพร้อมกัน 1 สัปดาห์เต็มๆเดือนละครั้ง โดยในช่วงสัปดาห์นี้ บริษัทจะจัดกิจกรรมต่างๆให้พนักงานเช่น Lunch and Learns การประชุมวางแผนรวมถึงการ Brainstorm เพื่อให้การเข้าออฟฟิสเกิดประโยชน์สูงสุด โดยบริษัทพบว่า หลังจากมีนโยบาย Seattle Week สัปดาห์แรกมีพนักงานเข้าออฟฟิส 88 คน แต่ในเวลานี้มีพนักงานเข้าออฟฟิสมากขึ้นเป็น 180 คนแล้ว

สำหรับช่วงเวลานอกเหนือ Seattle Week บริษัทให้อิสระแต่ละแผนกในการบริหารจัดการเลือกให้ทีมเข้าออฟฟิสกันเองโดยไม่ได้มีการบังคับ ผู้บริหาร Assurance IQ เรียกว่าเป็นการสร้างบรรยากาศให้พนักงานอยากเข้าออฟฟิสโดยที่ไม่ต้องออกกฎบังคับกันนั่นเอง

4.แต่ละส่วนงานพิจารณากันเอง

อีกวิธีที่หลายบริษัทใช้กันเยอะก็คือแทนที่การตัดสินใจจะเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง แต่เป็นผู้จัดการแต่ละส่วนงานที่มีความใกล้ชิดกับพนักงานมากที่สุดจะเป็นผู้ตัดสินใจแทน

CEO บริษัท ROCK บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีจากประเทศอังกฤษบอกว่าบางแผนกเข้าออฟฟิสแค่เดือนละครั้ง ในขณะที่บางแผนกเข้าออฟฟิสสองวันต่อสัปดาห์ ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า แต่ละทีมก็ทำงานแตกต่างกันออกไป บางคนโทรศัพท์คุยกับลูกค้าทั้งวันก็ต้องการที่จะทำงานที่บ้าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้หน้าที่การตัดสินใจจึงไปอยู่ที่หัวหน้าของแต่ละทีม

นั่นคือ 4 รูปแบบที่หลายๆบริษัทเลือกใช้ ซึ่งก็แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการทำงาน นอกเหนือจากน้นก็ยังมีอีกหลายรูปแบบที่ไม่ได้กล่าวถึงเช่น เข้าออฟฟิสสามวันต่อสัปดาห์ สลับกันไปในแต่ละทีม เข้าออฟฟิสเฉพาะวัน “จันทร์” และ “อังคาร” ส่วนวันอื่นก็สามารถทำงานที่บ้านได้ หรือแม้แต่รูปแบบ Work From Every Where และเข้าประชุมกันสัปดาห์ละครั้งก็เป็นอีกรูปแบบที่หลายๆบริษัทที่ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิสเลือกใช้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.marketingoops.com/

💡คิดถึงงานวิจัย คิดถึง Survey Market Thailand

🎯 สนใจทำวิจัยการตลาด ติดต่อ หรือ ปรึกษาเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้นะคะ :

📱Tel : คุณเรด 065-387-5499 / คุณปลา 096-140-4854 

💬 Line :  https://lin.ee/1WIknkQ

✉️ Email : surveymarketthailand@gmail.com

📱 Facebook : https://www.facebook.com/Surveymarketth

🌐 Website : https://surveymarketthailand.co.th

#วิจัยออนไลน์ #วิจัยการตลาด #บริการด้านวิจัยตลาด #รับทำวิจัยภาคสนาม #รับแผนการตลาด #บริการการตลาดออนไลน์ #การตลาดออนไลน์ #Surveymarket #Businessplan2023 #รับทำการตลาดออนไลน์

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect