ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทยจัดว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก ถึงแม้รัฐบาลจะกล่าวถึง การกระจายรายได้ ในประเทศไทยว่าอยู่ในระดับที่แย่มากแต่รัฐบาลไม่ได้ลงมือแก้ไขอะไรเลย คนไทยทุกคนควรจะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมไม่ใช่จะพิจารณาเฉพาะในเรื่องรายได้เท่านั้น แต่ควรมองในด้านความเท่าเทียมกันของโอกาสโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคมไทยเป็นสาเหตุของปัญหาโครงสร้างต่างๆในประเทศไทยทำให้สังคม การเมืองไม่มีเสถียรภาพ
คุณลักษณะของการเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยจะลดลงขบวนการค้านุษย์การฆาตกรรมการคอร์รัปชั่นทั้งหมดนี้เกิดจากโอกาส (opportunities) ที่ไม่เท่าเทียมกันของคนไทยเราควรมีความตระหนัก (awareness) ในเรื่องนี้ให้มากขึ้นต้องช่วยกันให้มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยถ้าต้องการให้สังคมไทยมีความยุติธรรม เท่าเทียมกัน เป็นประชาธิปไตร เป็นสังคมที่สร้างสรรปลอดภัย จะเกิดสิ่งเหล่านี้ได้จะต้องขจัดความไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทยให้หมดไปจะต้องทำให้คนไทยทุกคนไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ความเชื่อ ความไม่เท่าเทียมกันเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน สภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน กลุ่มคนชายขอบ (marginalized people) เช่น คนที่ไม่ได้รับ สัญชาติ ผู้ลี้ภัย เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเก่าๆที่มีการพูดถึงมานานแล้วแต่รัฐบาลยังไม่สามารถที่จะลดหรือป้องกันปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมได้เลย
เราต้องยอมรับว่า คนไทยยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เราควรศึกษาถึงความไม่เท่าเทียม 6 ด้านด้วยกันคือ
1.ยอมรับว่าประเทศไทยมีความไม่เท่าเทียมกันในการครอบครองทรัพย์สินสูง อยู่ใน 10 อันดับแรกของโลกทำให้เศรษฐกิจของไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของ มหาเศรษฐีพันล้าน ทำลายบรรยากาศการแข่งขันของภาคเอกชน ทำให้ปัญหาการคอร์รับชั่นมีความรุนแรงมากขึ้นการคอร์รับชั่นเกิดจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ กับผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ และเมื่อมีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีก
2.ประเทศไทยไม่มีสวัสดิการสังคมที่เพียงพอสำหรับผู้ด้อยโอกาส การช่วยเหลือของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สาธารณสุขผู้ด้อยโอกาสไม่ได้รับการศึกษาที่เพียงพอลูกของผู้ที่มีฐานะดีทางเศรษฐกิจ ได้รับโอกาสในการศึกษาในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้เรียนมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คนไทยที่มีฐานะดีได้รับการบริการด้านสาธารณสุขทีดีกว่าคนยากจน
3.ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ประชากรมีความยากจนแบบเรื้อรัง (Chronically poor)ถึงแม้ว่า GDP ของไทยจะเพิ่มขึ้น 3 – 4 % ในช่วงปี ค.ศ.2016 และปี ค.ศ. 2018 แต่ 10% ของประชากรอยู่ในสภาพยากจนแบบเรื้อรัง ทำให้การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมมีความยากมากขึ้น
4.การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน (Disruptive Technology) ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมมีมากยิ่งขึ้น
5.หลายๆประเทศในยุโรปมีความเท่าเทียมกันทางสังคมมากกว่าประเทศไทย เนื่องจากการใช้นโยบายการคลังในประเทศไทยในยุโรปทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากสวัสดิการสังคม (Social welfare) ที่เท่าเทียมกัน ประชาชนจึงมีความเท่าเทียมกันมากกว่าประชากรไทย การทำให้ประชาชนได้รับสวัสดิการที่เพียงพอ และเท่าเทียมกันถือเป็นกฎหมาย ไม่ใช่ในลักษณะของความเห็นใจ ประชาชนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน เยาวชนได้รับการศึกษาที่ดีตั้งแต่การศึกษาขั้นต้นถึงการศึกษาในระดับสูง สวัสดิการสังคมครอบคลุมถึงการเจ็บป่วย การว่างงาน และผู้พิการ ทำให้ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลกันความไม่มั่นคงชองชีวิต นักธุรกิจ นักลงทุน ประกอบธุรกิจด้วยความมั่นใจ บริหารธุรกิจอย่างเต็มกำลังความสามารถไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีใครเลี้ยงดู เนื่องจากรัฐบาลมีสวัสดิการสังคมให้กับผู้ชราภาพ ทำให้การผลิตสินค้าและบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สินค้ามีคุณภาพมีส่วนทำให้ GDP ของประเทศเพิ่มสูงขึ้นรายได้ของประเทศเพิ่มขึ้นนำไปจัดสรรเป็นสวัสดิการสังคมได้มากขึ้น
6.ความหมายของความยากจน (Poverty) ไม่ได้หมายถึงการไม่มีเงินแต่ผู้นำประเทศจะต้องมีการวางแผนที่จะให้ความยากจนมันเบาบางลงไป ทำอย่างไรที่จะทำให้คนจนมีรายได้ ไม่ต่ำกว่า รายได้ต่ำสุด ทำอย่างไรให้คนที่มีรายได้น้อยได้เพิ่มทักษะ (skill) ของตนเองเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน (Labor productivity) ช่วยให้ได้รับค่าแรงที่สูงขึ้น