ข่าวสาร

นโยบายการเงินและผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์หลัง กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25%

รศ.ดร.ไกร  โพธิ์งาม

ข้าราชการบำนาญ สังกัด ม.รามคำแหง

grai_phongam@hotmail.com

สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. มีมติลดอัตราดอกเบี้ยจาก 1.5% เหลือ 1.25%  เมื่อ 6 พ.ย. 2562 นับว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำที่สุด นับจากวิกฤติการเงินโลก ปี ค.ศ. 2009 สาเหตุที่ กนง. เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ย ก็คือ ภาวะเศรษฐกิจไทยเติบโตช้ากว่าที่คาดไว้ จากปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ จึงกระทบต่อภาคส่งออกของไทย และมีผลต่อเนื่อง ทำให้การบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับต่ำ

ขณะนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงชะลอตัวอย่างมาก กำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัว ผนวกกับสถานการณ์ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ปัญหาอังกฤษแยกตัวออกจาก EU  สหรัฐฯ ประเทศตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สำหรับสินค้าที่ส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐ จำนวน 573 รายการ ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรของไทยหลายรายการยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้รายได้ของเกษตรกรยังไม่กระเตื้องขึ้น ทำให้คณะทำงานวอร์รูป (War Room) ของกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีความเห็นว่าจะต้องมีการปรับโครงสร้างประเทศ ด้วยการใช้โอกาสจากเงินบาทที่แข็งค่านำเข้าวัตถุดิบราคาถูกมาผลิตเป็นสินค้า มีการปรับกฎระเบียบให้เอื้อต่อการนำเข้า จะทำให้สินค้าไทยมีศักยภาพเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินมาตรการแก้ค่าบาทแข็ง ดังนี้

คณะกรรมการนโยบายการเงินลดดอกเบี้ย 0.25% เพื่อพยุงเศรษฐกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออก ลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท (เนื่องจากการที่ปริมาณเงินตราต่างประเทศลดลง ค่าเงินตราต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทลดลง)  มาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้นจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 พ.ย. 2562 มีดังนี้ 

1) อนุญาตให้ผู้ส่งออกที่มีรายได้ต่ำกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อใบขน สามารถฝากเงินรายได้จากการส่งออกไว้ในต่างประเทศ โดยไม่จำกัดระยะเวลา และหากผู้ส่งออกมีรายได้สูงกว่าวงเงินข้างต้น สามารถนำไปหักกับรายจ่ายในต่างประเทศได้ และธปท. ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการขยายวงเงินรายได้จากการส่งออกไม่ต้องนำกลับเข้าประเทศเป็น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อใบขน

2) เปิดเสรีให้นักลงทุนรายย่อยสามารถออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เองในวงเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อไป จากเดิมที่ต้องผ่านตัวกลางในประเทศ หรือต้องมีสินทรัพย์ตามเงื่อนไขที่กำหนด

3) เปิดเสรีการโอนเงินออกนอกประเทศได้ทุกวัตถุประสงค์ ยกเว้นเพียงไม่กี่รายการ (negative list) อาทิเช่น การชำระธุรกรรมซื้อขาย FX/THB กับสถาบันการเงินในต่างประเทศที่ยังต้องขออนุญาตจาก ธปท. รวมถึงอนุญาตให้สามารถโอนเงินให้ตนเอง หรือญาติที่ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศ และการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศสามารถโอนได้ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และประชาชนหรือภาคธุรกิจที่ต้องการโอนเงินออกนอกประเทศต่ำกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อครั้ง ไม่ต้องยื่นเอกสารหลักฐาน

4) อนุญาตให้ลูกค้าคนไทย ซื้อขายทองคำในประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศผ่านบัญชี FCD (Foreign Currency Deposit) ที่เปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้ และลูกค้าสามารถเก็บเงินตราต่างประเทศจากการขายทองคำไว้ในบัญชี FCD โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินบาท 

การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์หลังจาก กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ จะต้องพิจารณาทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝาก เพื่อให้เกิดความเหมาะสม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อช่วยพยุงธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กไปก่อนหน้านี้

ผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์

การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ทำให้สถาบันการเงินเริ่มลดดอกเบี้ยตาม ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์บางรายให้ความเห็นว่า ไม่มีผลต่อตลาดอสังฯ มากนัก เพราะดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำมากอยู่แล้ว ต่ำกว่านี้ไม่ได้แล้ว ประเด็นที่สำคัญก็คือ คนระดับกลาง – ล่าง เข้าถึงสินเชื่อไม่ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการ LTV ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาฯ ของ ธปท. ตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว  ประชาชนกู้เงินซื้อบ้านไม่ได้ สถานการณ์ธุรกิจอสังริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัยชะลอตัวอย่างมากในปี 2562 ล่าสุดกระทรวงการคลังร่วมกับผู้ประกอบการอสังหาฯ ได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายที่จะเร่งระบายที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันเหลือค้างสต๊อกอยู่ 3.5 หมื่นยูนิต มาตรการกระตุ้นการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงปลายปี 2562 ช่วยให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์ 3 ประการ คือ 1) สามารถประหยัดเงินที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน และการจดจำนอง  2) ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่กำหนดอัตราดอำเบี้ย 2.5% คงที่ 3 ปี จากอัตราดอกเบี้ยปกติที่คิดไม่ต่ำกว่า 4% และ 3) เจ้าของโครงการที่เข้าร่วมโครงการนี้ของกระทรวงการคลัง จะให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแก่ผู้ซื้อ เช่น การให้ส่วนลด การแถมเฟอร์นิเจอร์ แถมเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect