ข่าวสาร

การเขียนแผนธุรกิจ เพื่อขอสินเชื่อ SME แบบง่าย ๆ พร้อมตัวอย่าง !

การเขียนแผนธุรกิจ เพื่อขอสินเชื่อ SME แบบง่าย ๆ พร้อมตัวอย่าง !

การเขียนแผนธุรกิจ

การเขียนแผนธุรกิจ ที่ดีถือเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จของกิจการเลยก็ว่าได้ แผนธุรกิจเป็นเหมือนแผนที่นำทางของกิจการ เปรียบเหมือนอาวุธลับที่แต่ละบริษัทมีเป็นของตัวเอง

แผนธุรกิจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งภายในองค์กรเอง หรือใช้ภายนอกองค์กร ก่อนที่จะมาดูว่า ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจ ที่ดีเป็นอย่างไร เรามาเข้าใจความสำคัญของการเขียนแผนธุรกิจกันก่อน…  

การเขียนแผนธุรกิจ มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ?

  1. เป็นจุดเริ่มต้นความสำเร็จของธุรกิจ – แผนธุรกิจเป็นเหมือนแผนที่นำทาง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเริ่มต้นธุรกิจ แผนการที่ดีย่อมสามารถนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้
  2. จัดหาแหล่งเงินทุน – การจัดทำแผนธุรกิจ ถือเป็นเอกสารสำคัญชิ้นหนึ่งในการดำเนินการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อธุรกิจ ผู้ให้บริการแหล่งเงินทุนมักพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อธุรกิจ จากแผนธุรกิจของผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน
  3. อาวุธสำหรับการแข่งขัน – แผนธุรกิจที่ดี และแข็งแกร่ง ถือเป็นจุดแข็งของกิจการในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และพัฒนากิจการให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจอย่างง่าย ๆ

สำหรับขั้นตอน การเขียนแผนธุรกิจ SME เพื่อทำเรื่องขอ สินเชื่อธุรกิจ บอกเลยว่าไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อนสักไหร่นัก การเขียนแผนธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อมีขั้นตอนการเขียนง่าย ๆ ไปดูกันเลยดีกว่าว่า ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจ มีกี่ขั้นตอน และ แผนธุรกิจที่ดีควรมีอะไรบ้าง

  1. บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

เป็นส่วนที่แนะนำ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจหรือโครงการ เป็นเหมือนบทเกริ่นนำ ที่มีความสำคัญเพราะควรเป็นส่วนที่ชักจูงและดึงดูดให้ นักลงทุน หรือผู้ให้บริการแหล่งเงินทุนสนใจในธุรกิจ มักมีความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ ประกอบด้วยข้อมูลสรุปเกี่ยวกับ

– ภาพรวมของธุรกิจ

– โอกาสในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน

– ข้อมูลสินค้าและบริการ

– เป้าหมาย

– กลยุทธ์

– แผนการลงทุน

– ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ

2. ความเป็นมาของธุรกิจ

เป็นส่วนที่อธิบายลักษณะของธุรกิจในปัจจุบัน และที่กำลังจะเป็นไปในอนาคต มักมีความยาวประมาณ 2-3 หน้ากระดาษ มีรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกิจการ โครงสร้างหุ้นส่วนและเจ้าของ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ที่อยู่บริษัท วิสัยทัศน์ และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการวิเคราะห์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกิจการ ที่ควรสะท้อนถึงความเป็นจริง สามารถวัดผลได้ มีความท้าทาย และเป็นไปได้จริงต่อองค์กร

3. การวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส

หรือที่เพื่อนๆ รู้จักกันดีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ธุรกิจวิธี SWOT Analysis โดยเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกต่างๆ ที่มีผลดีและอาจเป็นความเสี่ยงต่อบริษัท ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ กฎระเบียบ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

4. แผนการตลาด

เป็นการเขียนแผนธุรกิจที่อธิบายเกี่ยวกับกลยุทธ์การเข้าถึงตลาดที่กิจการได้ตั้งเป้าหมายไว้ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ตลอดจนกลยุทธ์ในการเข้าถึงและการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงเป้าหมายทางการตลาด เพื่อสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจให้กับนักลงทุน หรือผู้ให้บริการ

5. แผนการดําเนินงาน

การกำหนดแผนการดำเนินงานของกิจการควรมีความละเอียด เป็นไปได้ และสะท้อนถึงหลักความเป็นจริง ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญได้แก่

– แผนการผลิต

– แผนการควบคุมคุณภาพ

– แผนการบริหารบุคลากร

– แผนการควบคุมวัตถุดิบ และการจัดส่งสินค้าสำเร็จรูป (Supply-Chain Management)

– แผนการควบคุมคลังสินค้า

– แผนการบริการลูกค้า

  • แผนการเงิน

แผนการเงินถือเป็นส่วนที่แสดงข้อมูลเชิงปริมาณที่ผู้ให้บริการแหล่งเงินทุน และนักลงทุนใช้เป็นหัวข้อสำคัญในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ

แผนการเงินที่ดีจะดึงดูดนักลงทุน และผู้ให้บริการแหล่งเงินทุน การเขียนแผนธุรกิจ ควรมีแผนการบริหารเงินให้กิจการสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด โดยต้องสะท้อนความเป็นจริงทั้งเป้าหมาย และตัวเลขทางการเงินที่เกิดขึ้นจริงภายในกิจการ โดยข้อมูลสำคัญที่ควรมีในการเขียนแผนธุรกิจหัวข้อนี้ คือ

– แผนการลงทุน

– การประมาณการรายได้และผลตอบแทนที่จะได้รับ

– ข้อมูลทางการเงินของกิจการ ได้แก่ งบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุนสุทธิ และงบกระแสเงินสด

– การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

– การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน

– การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

6. แผนฉุกเฉิน (Emergency Plan)

ในกรณีที่กิจการตกอยู่ในภาวะฉุกเฉิน หรือเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานตามปกติ เช่น เหตุไฟไหม้ น้ำท่วม ภาวะทางเศรษฐกิจ หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ

กิจการควรมีแผนการรับมือรองรับ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้ในภาวะที่เกิดปัญหา เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน และผู้ให้บริการแหล่งเงินทุน ถึงความสามารถในการรับมือกับทุกสถานการณ์  

Credit Source: https://www.moneywecan.com/writing-business-plan/

ช่องทางการติดต่อเราได้ที่

Website: surveymarketthailand.com

LINE Official: https://lin.ee/n7IgL9I

Facebook: https://www.facebook.com/Surveymarketth

หากเพื่อนๆ สนใจที่จะเขียนแผนธุรกิจ เพื่อนๆ สามารถ Inbox เข้าไปสอบถามข้อมูลได้เลยครับ

#SurveyMarketThailand #BusinessPlan #รับเขียนแผนธุรกิจ

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect