ข่าวสาร

แหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อม

แหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อม
เงินทุน (Capital) หมายถึง เงินสด และสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น ที่กิจการนำมาลงทุนเพื่อดำเนินการในกิจการของตนเอง
ความสำคัญของเงินทุน
การวางแผนและการสร้างธุรกิจที่อยู่รอดได้นั้นไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารที่มีความสามารถและการมีตลาดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางการเงินที่มั่นคงอีกด้วย โดยทั่วไปผู้ประกอบการจะต้องนำเงินไปลงทุนในธุรกิจและมีการบริหารเงินทุนนั้นอย่างเหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่ากิจการจะบรรลุศักยภาพเต็มที่จากเงินทุนที่ใช้เพื่อเริ่มต้นธุรกิจที่ได้มาจากแหล่งต่าง ๆ การประเมินความต้องการทางการเงินที่มีการพัฒนาอย่างดีก่อนเริ่มต้นกิจการหรือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานที่มีการพัฒนาอย่างดีก่อนเริ่มต้นกิจการหรือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติในที่มีอยู่ จะช่วยลดการเผชิญปัญหาทางการเงินและความล้มเหลวทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นโดยทันทีทันใด
การกำหนดความต้องการของเงินทุน
ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมต้องกำหนดให้ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ของธุรกิจที่ต้องการจัดหาเงินทุน หรือต้องการความช่วยเหลือทางการเงินจากภายนอกมากน้อยเพียงใด และคาดคะเนความต้องการเงินทุนในระยะยาวของธุรกิจโดยลักษณะของความต้องการเงินทุนของธุรกิจ มีดังนี้
1) เงินทุนในการจัดตั้งธุรกิจ
2) เงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ
3) เงินทุนในการดำเนินงาน
แหล่งที่มาของเงินทุน
ธุรกิจขนาดย่อมในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากภาครัฐและเอกชนน้อยมากทั้งที่มีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศด้านการจ้างงานและการผลิต ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่เห็นความสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า จนสภาพเศรษฐกิจได้เข้าสู่ภาวะถดถอย ภาครัฐและเอกชนจึงหันมาให้ความสนใจกับธุรกิจขนาดย่อมมากขึ้น ทำให้การจัดหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจเริ่มมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยรวมแล้วแหล่งเงินทุนจะมาจาก 2 แหล่ง คือ
1) แหล่งเงินทุนจากส่วนทุน
1.1 ทุนของเจ้าของกิจการ
1.2 แหล่งเงินส่วนบุคคล
1.3 ผู้ลงทุนภาคเอกชนหรือบริษัทขนาดใหญ่
1.4 หุ้นส่วน
1.5 บริษัทร่วมลงทุน
1.6 การเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน
2) แหล่งเงินทุนจากส่วนหนี้สิน
2.1 สินเชื่อการค้า
2.2 สินเชื่อเพื่อซื้อทรัพย์สิน
2.3 แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ
2.4 เงินกู้ยืมจากองค์กรภาครัฐที่มีวัตถุประสงค์สนับสนุนการเงินแก่ธุรกิจขนาดย่อม
แหล่งเงินใหม่ของธุรกิจขนาดย่อม
การที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีนโยบายให้ธุรกิจขชนาดย่อมเข้าจดทะเบียน เพื่อระดมทุนในตลาดทรัพย์ได้ ทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจมาก โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่

            หลักเกณฑ์การนำธุรกิจเข้าตลาด  MAI
            บริษัทที่จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปนั้น มีข้อกำหนดดังนี้คือ
  1. ต้องเป็นธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ
  2. รายงานทางการเงิน มีความน่าเชื่อถือเพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต
  3. โครงสร้างทางการเงิน การจัดการ และการถือหุ้นชัดเจน และเป็นธรรม ระบบควบคุมภายในมีประสิทธิภาพและรัดกุม
  4. ผู้บริหารไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษ ฟ้องร้อง ไม่มีประวัติกระทำความผิดเกี่ยวกับระบบการเงิน ฉ้อโกง ทุจริต หรือขาดความรับผิดชอบอย่างร้ายแรงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่เป็นบุคคลในบัญชีดำของตลาดหลักทรัพย์ฯ
  5. บริษัทไม่มีประวัติการกระทำผิดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
  6. ไม่มีข้อพิพาทหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
    หลักทรัพย์ที่สามารถจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ MAI มีลักษณะเดียวกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิ ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้และหุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิ์ หรือหุ้นกู้
    กระบวนการจัดหาเงินทุน
    1) การคัดเลือกแหล่งเงินทุน
    2) ข้อมูลที่ผู้ให้กู้ยืม (เจ้าหนี้)
    3) คุณสมบัติของเจ้าของธุรกิจ
    4) ฐานะทางการเงินของธุรกิจ
    5) ความสามารถในการชำระคืน
    6) การป้องกันเงินกู้
    7) หลักประกัน
    8) ผู้ลงนามร่วม
    9) ข้อจำกัด
    10) การนำเสนอคำขอเพื่อให้ได้เงินทุน
    ปัจจัยการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
    1) ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
    2) ไม่มีประสบการณ์
    3) ไม่มีรายได้
    4) ไม่มีแผนธุรกิจ
    5) มีประวัติหนี้เสีย
    6) ไม่รู้ต้นทุนหรือไม่รู้รายได้
    7) ไม่รู้ข้อจำกัด
    8) ไม่สามารถผ่อนชำระได้
    9) ไม่มีการเตรียมตัว
    10) มีทัศนคติไม่ดี
    แนวทางการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
    แนวทางการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่มีหลักพื้นฐานคือ เอกสารสิทธิแบบมีเงื่อไขและสามารถกำกับดูแลการโอนสิทธิได้ โดยมีแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติในสินทรัพย์ 5 ประเภท ดังนี้
    1) ที่ดินและทรัพย์สินติดกับที่ดิน
    2) ทรัพย์สินทางปัญญา
    3) เครื่องจักร
    4) หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินสาธารณะ
    5) สัญญาเช่า เช่าซื้อ
    ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนมีดังนี้
  7. ผู้ประกอบการยื่นคำขอ พร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน หรือหนังสือรับรองแสดงการแจ้งข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและหลักฐานอื่น ๆ ต่อสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการฯ
  8. สถาบันการเงินพิจารณาคำขอ โครงการ และประเมินราคา
  9. สถาบันการเงินอนุมัติเงินกู้และทำสัญญาหลักประกัน
  10. ผู้ประกอบการแจ้งข้อมูลการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อบันทึกข้อมูล
  11. ผู้ประกอบการนำหลักฐานการแจ้งข้อมูลแสดงต่อสถาบันการเงินเพื่อทำสัญญากู้เงินและเบิกเงินกู้
    การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
    กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยและสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาไว้ดังนี้
  12. เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการเงินทุนไม่เกิน 500,000 บาท
  13. เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู๋ในความรับผิดชอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่แปลงเป็นทุนได้
  14. เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนที่สามารถบันทึกบัญชีได้ตามมาตราฐานบัญชีฉบับที่ 51 ทั้งนี้มีบริการไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย
    การดำเนินการกรณีลูกหนี้ผิดสัญญา
  15. สถาบันการเงินออกหนังสือเตือนให้ลูกหนี้ระงับการกระทำที่เป็นการผิดสัญญา
  16. หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินการ
  17. หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้เสนอข้อพิพาทสู่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
    ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาที่แปลงเป็นทุน
    ทรัพย์สินทางปัญญาที่นำมาเข้าในโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน คือ ทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
  18. กลุ่มที่มีกฎหมายระบุให้มีการออกหนังสือสำคัญจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาอยู่แล้ว
  19. กลุ่มหนึ่งที่ยังไม่มีการออกหนังสือสำคัญให้แม้ว่าบางประเภทจะมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว
    แนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
    การประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการวัดคุณค่าที่ผู้บริโภคเป็นคนกำหนด และสถาบันการเงินจะประเมินจากศักยภาพในการสร้างรายได้ของทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ โดยมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
    1) หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าเพื่อกำหนดมูลค่าตลาดอย่างมีเงื่อนไข
    2) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
    3) วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
    4) ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบการประเมินมูลค่า
    5) รายงานการประเมินมูลค่า
    6) การให้ถ้อยคำเป็นพยาน
    7) ความรับผิดชอบ
    ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา
    ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึงสิ่งต่อไปนี้
  20. สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้และไม่มีตัวตน
  21. ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ต้องนำมาสร้างเป็นสินค้าถึงจะสามารถสื่อถึงคุณค่าได้
  22. การประเมินมูลค่าที่มีความละเอียดอ่อนและมีความแน่นอนน้อยกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น เช่น ที่ดิน หรือสัญญาเช่าต่าง ๆ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อให้มีการจัดระบบการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน ทั้งในส่วนของการยื่นขอกู้โดยใช้สินทรัพย์ทางปัญญา ที่ใช้ประกอบโครงการการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการ และการรายงานผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
  2. ให้เจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทสงปัญญาประเภทต่าง ๆ เข้าถึงแหล่งทุนโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันเงินกู้ได้ โดยให้มีการตรวจสอบ และประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
  3. เพื่อสร้างระบบการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาและการนำทรัพย์สินทางปัญญาเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้รวมถึงการจัดทำและบริหารระบบสำหรับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ ด้วย
  4. เพื่อสร้างความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนในการประกอบกิจการหรือการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่าง ๆ
  5. เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการและพนักงานสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินนโยบายแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
ประเมินว่าทรัพย์สินทางปัญญาที่ปรากฏในตัวสินค้าชนิดนั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ซึ่งหลักการสำคัญในการประเมินมูลค่า คือ

  1. การคำนวณความสามารถในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้า
  2. พิจารณามูลค่าตลาดของสินค้าซึ่งใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ ในการผลิตระหว่างที่ทรัพย์สินทางปัญญานั้นยังมีอายุการคุ้มครองอยู่
  3. ประเมินโดยรวมสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อการลงทุนร่วมด้วย เช่น การวางแผนธุรกิจ และความเสี่ยงของธุรกิจ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา

  1. ลักษณะการถือสิทธิ
    1.1 ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
    1.2 ถือสิทธิร่วม (เจ้าของสิทธิมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป)
  2. ลักษณะการใช้สิทธิ
    2.1 การผลิตและจำหน่ายด้วยตนเอง
    2.2 การขายสิทธิให้กับผู้ประกอบการ
    2.3 การร่วมทุน

วิธีคำนวณมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
1. คำนวณจากมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ หรือรายได้ที่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาใรการผลิตสินค้าหรือบริการตลอดระยะเวลาที่ทรัพย์สินทางปัญญาได้รับความคุ้มครองหรือสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้ในอนาคต
2. ประเมินจากราคาของทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมือนกัน
3. คำนวณจากต้นทุนการผลิตทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อทดแทนทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ

การขอกู้เงินโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกัน

  1. การยื่นคำขอกู้เงิน
  2. การตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา
  3. การพิจารณาคำขอกู้เงิน และอนุมัติเงินกู้
  4. การบันทึกข้อมูลและการทำสัญญากู้เงิน
  5. การติดตามผลการดำเนินงาน
  6. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
  7. การชำระหนี้เงินกู้
  8. การผิดสัญญา

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect