ข่าวสาร

False Consensus Effect

False Consensus Effect

False Consensus Effect เป็นหลักการที่ว่าด้วยเรื่อง การคิดของคน ที่มักจะคิดเข้าข้างตัวเอง หรือมักจะคิดว่า ความเชื่อพฤติกรรมและความคิดต่าง ๆ นั้นเป็น common ในสังคม ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วอาจจะมีแค่ตัวคน ๆ นั้นเองที่เป็นคนเดียว ตัวอย่างเช่น

  • การที่เรารับประทานกระเพราบ่อย ๆ ก็มักจะทึกทักเอาเองว่าคนส่วนใหญ่ต้องรับประทานกระเพราบ่อย ๆ
  • การที่เราอ่านเว็บไซต์นี้เป็นประจำ ก็มักจะทึกทักเอาเองว่า คนส่วนใหญ่ต้องอ่านเว็บไซต์นี้เช่นกัน
  • การที่เรานั่งเครื่องบินชั้น First class ก็มักจะทึกทักเอาเองว่า คนที่นั่งส่วนใหญ่มักจะมีระดับเดียวกัน
  • หรือตัวอย่างดารา ที่คนรู้จักเยอะ ก็มักจะทึกทักเอาเองว่า คนส่วนใหญ่รู้จักตัวเอง

ตัวอย่างที่สำคัญที่ทำให้ False Consensus Effect นั้นมีผลต่อแบรนด์ และทำการตลาดจนพังมาแล้ว ตัวอย่างเช่น

McDonald’s ได้เคยพยายามที่จะออกเมนูแฮมเบอร์เกอร์ที่มีความหรูหรา ชั้นดี มีความพรีเมี่ยม แต่ปรากฏว่า เมนู Premium ของ McDonald’s นี่ล้มไม่เป็นท่า เพราะกลุ่มลูกค้าของ McDonald’s เองไม่ได้สนใจในการที่จะซื้อเมนูที่แพงขึ้น McDonald’s ทึกทักเอาเองว่า ถ้ามีเมนูที่ดีขึ้น คนจะต้องมาเลือก McDonald’s หรือซื้อเมนูเบอร์เกอร์พรีเมี่ยมรับประทาน แต่ปรากฏว่าในความจริงแล้ว ลูกค้าที่อยากจะได้ แฮมเบอร์เกอร์ที่พรี่เมี่ยมขึ้น เลือกที่จะเปลี่ยนร้านไปรับประทานร้านแฮมเบอร์เกอร์ดีๆ เลยดีกว่า ที่ไม่ใช่ Fast Food ซึ่งนี้เป็นความเข้าใจกลุ่มลูกค้าของ McDonald’s ที่ผิดเพี้ยงไป และสร้างสิ่งที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ออกมา

แบรนด์และนักการตลาดจะหลีกเลี่ยงการเกิด False Consensus Effect ให้ตัวเองได้อย่างไร สิ่งที่แบรนด์ควรทำคือ 3 อย่างนี้

1. เข้าใจเสียงของลูกค้า จากการศึกษาหนึ่ง นักวิจัยได้ให้นักการตลาดนั้นนำเสนอ ความต้องการที่มาจากเสียงของผู้บริโภค ภายในบริษัทกันเอง โดยนักการตลาดเหล่านี้ได้นำเสนอความเห็น และมุมมองจากลูกค้าที่ได้ให้ความเห็นมาข้อดีที่เกิดขึ้นที่นักวิจัยค้นพบจากการทำเช่นนี้ คือ นักการตลาดได้นำเสนอมุมมองและความเห็นผู้บริโภค โดยได้ตัดอคติของตัวเองทิ้งไปนอกจากนี้ยังได้นำเสนอความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทำงานต่าง ๆ ที่จะมาใช้ในการจัดการมุมมองของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. เข้าใจประสบการณ์ลูกค้าโดยไปมีประสบการณ์เอง ด้วยการที่จะเข้าใจความรู้สึกของคน ๆ หนึ่งดีที่สุดคือการเอาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น เช่นกันตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงคือ Walt Disney บังคับให้ Imagineers ในบริษัทนั้นต้องไปเที่ยวที่ Disneyland บ่อย ๆ และต้องต่อคิวเหมือนคนทั่วไป ด้วยวิธีการนี้จะได้เข้าใจความรู้สึกของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสวนสนุกของตัวเองว่าเจออะไร ด้วยการที่ Imagineers ต้องไปเช่นนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เข้าใจความรู้สึกของคนที่มาเที่ยวสวนสนุก แต่ยังสามารถสังเกตประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในสวนสนุกและคนเที่ยว ได้มากกว่าที่ตัวเองคิด

3. ทดสอบบทสรุปของตัวเอง ก่อนที่จะออกสินค้าตัวใหม่สู่ตลาด นักการตลาดต้องทำให้แน่ใจก่อนว่าสินค้าที่จะออกนั้นผ่านการทดสอบอย่างข้มเข้นว่า ตรงใจกับความต้องการของลูกค้าหรือไม่ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดในการทำทดสอบนี้คือ การถามคนที่มาทดสอบว่า “จะซื้อสินค้านี้ไหม” เพราะด้วยแรงกดดัน และเวลาที่ใช้ในการทำแบบทดสอบ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายที่มาทดสอบมักจะตอบไม่ตรงกับความจริงและมักตอบให้จบ ๆ ไป ว่า ”ซื้อ”

ความยากอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจและการตลาดในยุคนี้ และเป็นความท้าทายที่สำคัญอีกด้วย นั้นคือ สิ่งที่เรียกว่า empathy หรือการเข้าใจว่ากลุ่มลูกค้านั้นกำลังรู้สึกอย่างไร และเรารู้สึกได้แบบเดียวกับลูกค้าไหม เพราะการเข้าใจสิ่งนี้ ย่อมทำให้เราสามารถสื่อสารได้ตรงใจกับลูกค้าได้มากขึ้น แต่ปัญหาที่เราไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกลูกค้าได้ตรง ๆ นั้นเกิดจาก False Consensus Effect

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.marketingoops.com/

Survey Market Thailand เราเข้าใจลูกค้าได้เป็นอย่างดีนะคะ 👍

💡คิดถึงงานวิจัย คิดถึง Survey Market Thailand

🎯 สนใจทำวิจัยการตลาด ติดต่อ หรือ ปรึกษาเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้นะคะ :

📱Tel : คุณเรด 065-387-5499 / คุณปลา 096-140-4854 

💬 Line :  https://lin.ee/1WIknkQ

✉️ Email : surveymarketthailand@gmail.com

🌐 Website : https://surveymarketthailand.co.th

#วิจัยออนไลน์ #วิจัยการตลาด #บริการด้านวิจัยตลาด #รับทำวิจัยภาคสนาม

#รับแผนการตลาด #บริการการตลาดออนไลน์ #การตลาดออนไลน์ #Surveymarket

#Businessplan2023 #รับทำการตลาดออนไลน์

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect