รู้ไว้ได้เปรียบ !!! สรุป 10 เทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคในทศวรรษนี้
ถ้าให้เลือกระหว่างปัจจุบันดีมากกับอนาคตเดาไม่ได้เลย กับ ปัจจุบันเหนื่อยหน่อย แต่อนาคตดีแน่ คุณจะเลือกอะไร? ความสำเร็จของธุรกิจในวันนี้ไม่สามารถรับประกันในได้เลยว่าในอนาคตธุรกิจคุณจะรุ้ง การละเลยอนาคตจะทำให้เราไม่เห็นโอกาสและภัยคุกคาม การไม่มองอนาคต คือการตั้งอยู่ในความประมาท
ฉะนั่นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้คุณต้องมองไปที่อนาคตและจับทางแนวโน้มของโลกและพฤติกรรมผู้บริโภคให้ถูก เพราะผู้บริโภคคือแหล่งรายได้ของเรา วันนี้ผมจะมาแชร์ 10 เทรนด์ พฤติกรรมผู้บริโภคแห่งทศวรรษนี้เพื่อคุณจะได้เตรียมตัวและนำไปปรับเปลี่ยนและต่อยอดในธุรกิจของคุณต่อไป
- การเคลื่อนไหวของแบรนด์เพิ่มเติม (More Brand Activism)
ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ผู้บริโภคใส่ใจและให้ความสำคัญกับการกระทำของบริษัทต่างๆมากขึ้น และพวกเขามีความต้องการที่จะเห็นผลงานของบริษัทต่างๆ และพร้อมที่จะสนับสนุนบริษัทที่ใส่ใจให้ความสำคัญกับสังคม ชุมชน พนักงาน และลูกค้าของบริษัท ฉะนั่นช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่บริษัทควรหันมาสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นเพื่อพิชิตใจผู้บริโภคในระยะยาว
- ความเป็นธรรมชาติและความสะดวกสบาย (Spontaneity and Convenience)
ผู้คนคิดถึงประสบการณ์ในกิจวัตรประจำวันปกติต่างๆก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 อย่างเช่น การไปจ่ายตลาด การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การได้ไปกินอาหารนอกบ้าน การได้เดินทางไปทำงานและส่งเด็กๆไปโรงเรียน และอื่นๆอีกมากมาย ผู้คนทั่วโลกโหยหาประสบการณ์เหล่านี้ในช่วงนี้ปี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจจากนักวิจัยสังเกตเห็นว่า ผู้บริโภคที่อายุน้อยชอบการมีปฏิสัมพันธ์หรือทำธุรกรรมแบบออนไลน์ ในขณะที่ 68% ของผู้บริโภคที่มีอายุมากกว่า 60 ปีชอบพูดคุยกับตัวแทนฝ่ายบริการลูกค้าที่เป็นมนุษย์
- เปิดโล่ง (Open Air)
Euromonitor ชี้แจงว่า แม้ว่าหลังจากผ่านช่วงวิกฤตโควิด-19 ไปแล้ว ผู้คนทั่วโลกบางส่วนจะเริ่มรู้สึกคุ้นเคยและชินกับพฤติกรรม new normal ต่างๆแล้ว แต่ผู้คนก็ยังคงปรารถนาที่จะทำกิจกรรมต่างๆในที่โล่งแจ้ง หรือร่วมงานกิจกรรมทางสังคมต่างๆอย่างที่เคยเป็น และต้องการที่จะไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจในที่ต่างๆเหมือนเดิมอยู่ดี แสดงว่าธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมจะฟื้นตัวเมื่อเราสามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้
- โลกทางกายภาพและดิจิทัล (Physical and Digital Worlds)
โลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลกำลังเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้คนปรับตัวใน new normal ได้ดีมากจนคิดว่ามันคือเรื่องปกติ แม้หลังจากวิกฤตไปแล้ว ผู้คนก็จะยังคงใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมเป็น new normal อยู่ดี เช่น การสื่อสารแบบเห็นหน้า (video call) ไม่ว่าจะทางเครื่องมือสื่อสารใดๆก็ตาม เด็กยุคใหม่ก็จะเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องปกติ เพราะคนส่วนใหญ่กำลังผสานระหว่างโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้ผมนึกถึงหนังที่ชื่อว่า ready to player one ซึ่งทุกวันนี้ผู้คนบางกลุ่มใช้เวลาชีวิตตัวเองในโลก
ดิจิทัลมากว่าในโลกทางกายภาพเสียอีก
- กำหนดการใหม่ (New Schedules)
เพื่อตอบโจทย์ยุคสมัยใหม่ เนื่องจากผู้คนต้องอยู่บ้านมากขึ้น ใช้ชีวิตส่วนตัว งาน และครอบครัวทั้งหมดเกิดขึ้นในบ้านมากขึ้น จึงเกิดวัฒนธรรมเรื่องตารางเวลาใหม่ที่ยืดหยุ่น จะเลือกทำงาน เรียน หรือพักเบรคตอนไหนก็สะดวก Euromonitor คาดการณ์ว่าผู้บริโภคจะต้องการวัฒนธรรมการบริการตลอด 24 ชั่วโมงมากขึ้น และหมวดธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นคืออีคอมเมิร์ซและบริการจัดส่ง
- แก้แค้นการใช้จ่าย (Revenge Spending)
ประชาชนบางส่วนไม่พอใจกับและไม่ไว้วางใจผู้นำประเทศหรือรัฐบาลของตัวเอง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมโรคระบาด และปล่อยให้สถานการณ์แย่ขนาดนี้ รัฐบาลส่วนใหญ่ใช้มาตรการให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้าน มันจึงเกิดความไม่พอใจสะสมในตัวผู้บริโภค และวิธีการแก้แค้นคืนที่ประชาชนทำได้คือ ‘การช้อปประชดวิกฤต’ เพราะบางทีพวกเขาอาจมีเงินเก็บไว้ไปเที่ยวต่างประเทศหรือไว้ใช้อะไรก็แล้วแต่ พอโรคระบาดทำให้ไม่สามารถเดินทางไปเที่ยวหรือไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ทำให้มีเงินเหลือใช้ ซึ่งหมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นก็คือ สินค้าฟุ่มเฟือยราคาไม่แพง เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารสำเร็จรูป และวิดีโอเกม
- ความพิถีพิถันอย่างรอบคอบ (Thoughtful Frugality)
ในอีกมุมมองหนึ่ง จะมีประชาชนบางส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้อยู่ไม่น้อย เช่น คนที่ตกงานหรือกระทบจากภาวะถดถอยเศรษฐกิจ ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่กล้าใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น และจะสำรองไว้ใช้จ่ายกับสิ่งที่จำเป็นแทนเท่านั้น แนวโน้มการใช้จ่ายในหมวดสินค้าตลาดพรีเมียมจึงลดลง
- ความหลงใหลในความปลอดภัย (Safety Obsession)
ทุกวันนี้แนวโน้มการให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยจัดว่าเป็นสิ่งแรกๆที่ทุกคนนึกถึง เราจะเห็นได้จากพฤติกรรมที่ทุกคนต้องปรับตัวนั้นคือ การล้างมือบ่อยๆและการสวมหน้ากากอนามัย สิ่งเหล่านี้กลายเป็นนิสัยปกติไปแล้ว รวมถึงการชำระเงินแบบผ่านแอปพิเคชั่นโดยไม่ต้องใช้การสัมผัสกับเงินอีกด้วย จากที่กล่าวมาโรคระบาดทำให้ผู้บริโภคตระหนักเรื่องความปลอดภัยของสินค้าและบริการต่างๆมากขึ้น
- การตระหนักรู้ในตนเองมากขึ้น (Greater Self-Awareness)
แนวโน้มนี้เป็นผลข้างเคียงที่ดีจากโรคระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างเห็นได้ชัด ผู้คนทั่วโลกถูกบังคับให้อยู่กับตัวเองและมีเวลาให้ตัวเองมากขึ้นซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการทดสอบทางจริงใจที่ค่อนข้างท้าทาย นอกเหนือจากนี้ทุกคนตระหนักกับสถานะสุขภาพของร่างกายตัวเองมากขึ้น วิกฤตนี้ทำให้คนกลัวตายมากขึ้น คนเลยใส่ใจหันมาดูแลตัวเองมากขึ้นด้วย แนวโน้มนี้ส่งผลให้ยอดขายทั่วโลกหมวดอาหารเสริม ของเล่น งานอดิเรก เครื่องดนตรี อุปกรณ์กีฬา และความสะดวกสบายแบบย้อนยุค เช่น ขนมในวัยเด็ก คาดว่าจะเพิ่มขึ้น
- การทำงานจากที่บ้าน (Working From Home)
จริงๆแล้วแนวโน้มการทำงานจากที่บ้านกำลังเพิ่มสูงขึ้นแล้วก่อนที่จะเกิดโรคระบาด แต่มาตรการกีดกันทางสังคม (Social Distancing) เมื่อปีที่แล้วทำให้แนวโน้มนี้กลายเป็นจริงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะดีขึ้นแล้ว แต่คาดว่าหลายคนก็ยังคงทำงานที่บ้านอยู่ต่อไปเช่นเดิม ซึ่งแนวโน้มนี้มีผลกระทบต่อหลายๆปัจจัยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งหน้านำผม การแต่งตัวไปทำงาน การเดินทาง ประเภทอาหารการกิน และเทคโนโลยี่ที่ใช้ในแต่ละวัน
ถ้าคุณอยากอยู่รอด คุณจะต้องจับทางเทรนด์ให้ถูกแล้วพร้อมที่จะปรับตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าคุณอยากประสบการณ์สำเร็จในธุรกิจ คุณจะต้องเข้าใจ คาดการณ์ และสร้างเทรนด์ให้ทุกคนตาม