ปี 2538 Dr.Jim Walker เขียนบทความวิเคราะห์ค่าเงินบาท ว่าจะถูกกดดันให้ลอยตัวค่าเงินในปี 2540 – 2541 ปรากฎว่าไม่มีใครเห็นด้วย แต่ปรากฎว่าการคาดคะเนของเขาเป็นความจริงและขณะนี้ Dr.Jim Walker ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าเงินบาทโดยกล่าวว่า ปัญหาขณะนี้ของ ธปท. คือค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าและประเทศคู่แข่งขัน ดัชนีค่าเงินบาทสูง เท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤตปี 2540 ค่าเงินบาทแข็งเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจ
เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ขณะนี้ปี 2563 กับช่วงก่อนเกิดวิกฤตปี 2540
1. ช่วงก่อนปี 2540 ไทยใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศจำนวนมากดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบ ทำให้นักลงทุนและเจ้าหนี้ต่างประเทศไม่มั่นใจในค่าเงินบาท และไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจของไทย
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน (พ.ศ.2563) ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current account) เกิดดุลต่อเนื่องมาหลายปีแล้วและเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยมีมากกว่าช่วงปี 2540 หลายเท่าตัว
2. การแข็งค่าของเงินบาทในช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมาเป็นไปตามธรรมชาติจากดุลบัญชี เดินสะพัดเกินดุล และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวดีขึ้นและในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าทำให้ดัชนีค่าเงินบาทแข็งค่า
3. ตั้งแต่ปีที่แล้ว ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แต่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
4. Dr.Jim Walker กล่าวว่าปัญหาที่ไทยประสบอยู่ก็คือกลไกทางเศรษฐศาสตร์ไม่ทำงานค่าเงินบาทที่แข็งค่าน่าจะทำให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นและการนำเข้าสินค้าทุนการนำเข้าสินค้าทุน จะช่วยลดการเกินดุลของดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้เงินบาทแข็งค่าน้อยลง แต่ในกรณีของประเทศไทย เหตุการณ์ดังกล่าวมานี้ไม่เกิดขึ้นและการลงทุนของภาคเอกชนในไทยอยู่ในระดับต่ำมานานแล้ว ทั้งๆที่ไทยน่าจะเป็นศูนย์กลางของกลุ่มประเทศ CLMVT และอัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานานเป็นที่สงสัยกันมากกว่าทำไมการลงทุนของภาคเอกชนไม่เพิ่มขึ้น
5. Dr.Jim Walker แสดงความคิดเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับต่ำมานานแล้ว และคณะกรรมการนโยบายการเงินไม่น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีก
การแก้ปัญหาค่าเงินบาท ควรจะส่งเสริมให้กลไกทางเศรษฐกิจทำงานโดยอัตโนมัติให้มากขึ้น รัฐบาลต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชนที่จะเพิ่มการลงทุน อีกทั้งรัฐบาลสมควรจะเร่งรัดการลงทุนขนาดใหญ่ ลดกฎแกณฑ์ต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการแข่งขันของภาคเอกชน
มีนักเศรษฐศาสตร์บางท่านให้ความคิดเห็นว่า การที่เงินบาทแข็งค่าเกิดจากการที่ประเทศไทยมีเงินออม (S) มากกว่าเงินลงทุน (I) อธิบายได้ดังนี้
จากสมการ Identity
C+I+G+X =C+S+T+M
I+G+X =S+T+M
( G-T )+( X-M ) =S-I
หมายเหตุ C,I,G,X,S,T,M หมายถึง การบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายของรัฐบาล การส่งออก การออม ภาษี และการนำเข้า ตามลำดับ
จากสมการข้างต้นสมมติงบประมาณเป็นแบบสมดุล ( G=T ) การที่ S > I ทำให้ S – T เป็นบวกมีผลทำให้ X – M > O นั่นคือดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทำให้เงินบาทแข็งค่าสืบเนื่องมาจากการออม ( S ) ที่มากกว่าการลงทุน ( I )