ข่าวสาร

29102015_banner

วางแผนธุรกิจก่อนเริ่มธุรกิจใหม่

การเจริญเติบโตที่มั่นคงและชัดเจน จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นด้วยการมี “แผนธุรกิจ” เสียก่อน

เพราะแผนธุรกิจจะเป็นเสมือน “เข็มทิศ” ชี้บอกตำแหน่งและสถานะของะุรกิจได้ว่ากำลังเดินไปในทิศทางที่ได้กพหนดไว้หรือไม่ เดินไปได้ช้าหรือเร็วอย่างไร รวมไปถึงการชี้ให้เห็นโอกาสและอุปสรรคที่ไม่ได้เตรียมการไว้ หรือเป็นสภาสวะที่เกิดจากการปรับตัวเองของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่คาดการณ์ไว้ไม่ถึง

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ อย่างที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ปัจจจัยเหล่านี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาบางครั้งจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงคาดการณ์ได้ยาก

มิหน่ำซ้ำ ปัจจัยเหล่านี้อาจมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม้ได้ ทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงมากขุึ้นเป็นทวีคูณ

ดังนั้นการเริ่มต้นธุรกิจ จึงจำเป็นที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประการการใหม่ จำเป็นต้องมรเครื่องมือตรวจสอยเตือนภัยทางธุรกิจ ที่สามารถจำลองภาพสถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สามารถกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในช่วงเวลาต่างๆ ให้เหมาะสมกับโอกาส หรือ อุปสรรค ที่อาตเกิดขึ้น

หากเห็นช่องโอกาสเปิดให้ก็ต้องรับไขว่คว้ามาให้ได้ทันที

เพาะ “โอกาส” เป็นสิ่งมีไส้ให้ “ฉวย” หากท่านมองเห็น “โอกาส” แล้วนั้งมองโอกาสนั้นเฉยๆ โดยไม่ทำอะไรโอกาส ก็ย่อมที่จะหลุดลอยไปอย่างรวดเร็ว และอาจไม่หวนคืนกลับมาให้ท่านได้เห็นอีกเลย

เครื่องมือเตือนภัยล่วงหน้าทางธุรกิจนี้ ก็คือ “แผนธุรกิจ” นั้นเอง

อย่างไรก็ตาม การมีแผนธุรกิจไม่ได้ปเป้นสูตรสำเร็จหรือ เป็นคัมภีร์ ที่จะประกันว่าธุรกิจใหม่ของท่ายจะต้องประสบความสำเร็จและเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างแน่นนอน แต่แผนธุรกิจจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้ท่านมองเห็นปัญหาต่างๆ ได้ทันทีที่ปัญหาเหล่านั้นเริ่มมาสร้างผลกระทบต่อธุรกิจของท่าน

แผนธุรกิจที่ชนะเลิศในการประกวดในเวทีต่างๆ เมื่อนำมาทำเป็นธุรกิจจริง อาจจำเป็นต้องปรับแผนไปอีกแบบก็ได้ หรือแผยธุรกิจที่ได้รับรางวัลในการประกวดแผนอาจไม่สามารถนำมาทำธุรกิจได้จริงก็มี

ดังนั้นผมจึงเห็นว่า หากท่านเป็นใฝ่ฝันอยากสร้างธุรกิจอะไรก็ตามที่เป็นจองตัวเองขึ้นมาสิ่งแรกสุดที่จะสานฝันของท่านให้เ)้นจริงได้ ก็คือการที่ท่านได้ลองเขียน แผนธุกิจของท่านขั้นมาด้วยตัวของท่านเอง

การลงมือเขียนแผนธุรกิจด้วยตัวเอง เป็นการเตรียมตัวที่ดีที่สุดที่จะตรวจสอบตัวเจ้าของธุรกิจเองว่า ตนเองเข้าใจในธุรกิจที่กำลังทำอยู่หรือไม่มากน้อยเพียงไหน จนถึงขั้นลึกซึ่งพอที่จะเอาชนะคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดได้หรือไม่

แผนธุรกิจ หรือ Business plan นั้นเป็นเสมือนกรอบแน้วทางที่ทำให้การดำเนินการธุรกิจตามแผนงานที่วางเอาไว้ ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่มีความคิดและเป้าหมายที่ ชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังคิดจะขยายกิจการ แผนธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้ร่วมลงทุน หรือสถาบันการเงินที่คุณต้องกู้ยืมเงินอีกด้วย

การเริ่มธุรกิจนั้น จะต้องประกอบไปด้วยทักษะ 4 ส่วนหลัก
1. ความพร้อมในเรื่องคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบการ
2. ความรู้ในเรื่องของสินค้าและบริการที่จะทำ
3. ความรู้ในเรื่องการบริหารคน เงิน และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการธุรกิจ
4. ความรู้ในเรื่องการวางแผนด้านธุรกิจ

แผนธุรกิจก็คือ Roadmap ที่ต่อ จิ๊กซอว์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างเป็นระบบโดยจัดทำเป็นเอกสาร และใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารกลยุทธ์กับบุคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจนั้น แผนธุรกิจที่ดีจะต้องมองรอบด้าน ทั้งปัจจับภายนอก (โอกาสและอุปสรรค) สภาวะการแข่งขัน (คู่แข่ง ลูกค้า ผู้ผลิต) และมองที่ปัจจัยภายใน ซึ่งผลจากการมองจะช่วยกำหนดทิศทางให้กับธุรกิจได้ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามเรื่องราวในอนาคตเป็นสิ่่งที่ไม่มีใครหยั่งรู้ได้ ดังนั้น แผนธุรกิจต้องมีการปรับตามสถานการ์ ทุกๆ 3-6 เดือน หากเชื่อเพียงแต่ประสบการณ์ของตนเองไม่ปรับเปลี่ยนตามสภาวะแวดล้อมภายนอก ก็อาจทำให้แผนธุรกิจคุณล้มเหลวได้

ดังนั้นการใช้ประสบการณ์ + การวางแผนธุรกิจที่ดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในธุรกิจลงได้มาก

การเขียนแผนธุรกิจคือการถ่ายทอดความคิดเป็นตัวอักษรลงในแผนภาพ ในกิจกรรมที่ทำแล้วเกิผลกำไร

ทำไมต้องเขียนแผนธุรกิจ
1. ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เราจะทำได้ชัดเจน เป็นระบบ ลดข้อผิดพลาด
2. ทำให้คนอื่น (ผู้ร่วมลงทุน เพื่อนร่วมงาน ผู้สนับสนุนทุน เป็นต้น) เข้าใจว่าเรากำลังจะทำอะไร
3. เป็นแผนที่นำทางในการทำงานในอนาคต

แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วควรจะต้องสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้
1. การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง
2. ธุรกิจนี้ลงทุนหรือไม่
3. ธุรกิจที่จะทำมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จครั้งแรกมากน้อยขนาดไหน
4. ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด
5. สินค้าที่จะผลิตมีประสิทธิภาพเพียงใด
6. สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดสินค้านั้น มีทางเลือกอื่นๆที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่
8. หน้าที่ต่างๆ เช่นการผลิต การจำหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการจัดการที่ดีเหมาะสมเพียงใด
9. จำนวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่

ดังนั้นการจะเขียนแผนธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมพร้อมขั้นพื้นฐานก่อน ดังต่อไปนี้

  1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
    บทสรุปผู้บริหาร เป็นส่วนที่สรุปภาพรวมของแผนธุรกิจนั้นๆไว้ ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่ผู้ร่วมลงทัน และสถาบันการเงินจะอ่านก่อนเป็นอย่างแรก และตัดสินใจว่าจะอ่านต่อจนจบหรือไม่ ผู้ประกอบการจึงควรสละเวลาเป็นพิเศษในการทำให้บทสรุปผู้บริหารนี้น่าเชื่อถือ หนักแน่น โดยเน่นหนักเรื่อง
    – ลักษณะและแนวคิดของธุรกิจ
    – โอกาสและกลยุทธ์หลักที่ใช้
    – กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการคาดคะเนลูกค้าเป้าหมาย
    – ความได้เปรียบเชิงแข้งขันของธุรกิจ
    – ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ และความสามาในการทำกำไร
    – ทีมผู้บริหาร
    – ข้อเสนอผลตอบแทน (กรณีหาแหล่งนายทุนภายนอก)
  2. ประวัติย่อของกิจการ
    ประวัติย่อของกิจการเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเยื้อต้นเดี่ยวกับ
    – ประสัติกิจการ/ผู้ประกอบการอย่างสั้น
    – สถานที่ตั้งกิจการของเรา
    – วิสัยทัศน์ (Vision)
    – ระบุสิ่งที่ใฝ่ฝันอยากให้องค์กรเป็นในอนาคต
    – เราคือใคร? เราจะทำอะไร? และมีทิศทางไปทางไหน
    – ภารกิจหลัก (Mission) หรือพันธกิจ
    – กรอบในการดำเนินงานขององค์กร
    – ลูกค้าของเราคือกลุ่มไหน? เราจะต้องทำอย่างไร? เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  3. การวิเคราะห์สถานการณ์
    การวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นข้อมูลที่จำเป็นในการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ และแผนการดำเนินงานของกิจการ จึงเป็นงานอันดับแรกที่คุณควรกระทำ เครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นั้นเรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยภายในอย่าง จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weaknesses) ของกิจการ รวมไปถึง โอกาส (Opportunties) อุปสรรค (Treats) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก
  4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ
    วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ คือ ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องได้รับในช่วงระยะเวลาของแผนนั่นเอง การวางแผนเป้าหมายทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือนั้นคุณจะต้องแสดงให้เห็นความเป็น ไปได้ ที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น
    -ระบุสิ่งที่จะต้องทำให้ประสบผลสำเร็จ อาจแบ่งออกเป็นวัตถุประสงค์ระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจแบ่งออกเป็นวัตถุประสงค์ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการเงิน ฯลฯ
    -เป้าหมาย (Goal) ระบุตัวชี้วัดสำหรับวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ
  5. แผนการตลาด
    แผนการตลาด การเขียนแผนการตลาด ผู้เขียนจะต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ ร่วมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจที่ได้กล่าวไปในข้อ 3 และข้อสี่ เพื่อใช้หาเป้าหมายทางการตลาด ทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายนั้น และสร้างกลยุทธ์ต่างๆ เช่น
    – ยอดขาย (Sale Value)
    – ปริมาณขาย (Sales Volume)
    – ส่วนแบ่งตลาด (Market Share)
    – การเจริญเติบโตของตลาด (Market Growth)
    – ฐานลูกค้า (Customer Share)
    – ระดับความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)
    – อัตรการกลับมาใช้บริกการหรือมาซื้อ (Re-purchase Rate)
  6. แผนการผลิต
    การเขียนแผนการผลิตนี้ผู้เขียนจำเป็นต้องเขียนเรื่องแผนการผลิตและการ ปฏิบัติให้ละเอียด เพราะมันเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของกิจการในการจัดการกระบวนการผลิตและ ปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่สำคัญต้องมุ่งเน้นประเด็นการจัดการระบบการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรใน การผลิตให้เป็นผลผลิต ซึ่งในที่นี้คือจำนวนหรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้นั่นเอง เช่น
    – กระบวนการผลิต
    – สินทรัพย์ถาวรที่ใช้ในการผลิต อายุการใช้งาน และเงินลงทุน
    – กำลังการผลิตวางไว้
    – ที่ตั้งโรงงานและการวางผังโรงงาน
    – รายงานวัตถุดิบ ตำแหน่งงาน คุณสมบัติของแรงงาน
    – ตั้นทุนแรงงาน
    – ค่าใช้ต่ายโรงงาน
    – สรุปต้นทุนการผลิต (นำไปปรับปรงราคาในแผนการตลาด)
  7. แผนการจัดการและแผนคน
    ส่วนนี้คือการเขียนแผนผังโครงสร้างขององค์กรนั่นเอง ผู้จัดทำแผนจะต้องระบุตำแหน่ง หน้าที่ และประโยชน์ของหน่วยงานในองค์กร เช่น
    – รูปแบบธุรกิจ
    – โครงสร้งองค์กร (ผงองค์กร)
    -ประสบการณ์ทางธุรกิจและคุณสมบัติของผู้ประกอบการ
    – กิจกรรมก่อนเริ่มดำเนินการ และค่าใช้จ่าย
    – ที่ตั้งสำนักงาน และสาขา (ถ้ามี)
    -อุปกรณ์สำนักงาน และอายุการใช้งาน
    – ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
  8. แผนการเงิน
    แผนการเงิน แผนการเงินจะประกอบด้วยสมมติฐานทางการเงิน เช่น
    – เงินทุนที่ต้องการ (ต้นทุนโครงการ)
    – แหล่งเงินทุน (แผนการลงทุนและการกู้เงิน)
    – ประมาณการจุดคุ้มทุน
    – ปนะมาณการงบกำไรขาดทุน
    – ประมาณการงบดุล
    – ประมาณการงบกระแสเงินสด
    – การชำระคืนเงินกู้หรือการจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ลงทุน
    – การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
    แผนการเงินนั้นมีส่วนช่วยให้ผู้ร่วมลงทุนและสถานบันการเงินเกิดความมั่นใจ เพราะถ้าหากเราตั้งสมมติฐานทางการเงินอย่างสมเหตุสมผลเราก็จะดูน่าเชื่อถือ ในทางตรงกันข้ามถ้าเราตั้งสมมติฐานทางการเงินไม่สมเหตุสมผลก็จะทำให้เราดู อ่อนประสบการณ์ไปโดยปริยาย
  9. แผนการดำเนินงาน
    แผนการดำเนินการ คือการจัดทำรายละเอียดของกลยุทธ์แต่ละด้านให้เป็นรูปธรรมนั่นเอง ผู้ประกอบการอาจจะสร้างเป็นตารางแจกแจงให้เห็นเป้าหมาย กลยุทธ์ วิธีการ งบประมาณ และระยะเวลาดำเนินการ เป็นรายเดือนหรือรายปี เช่น
    – จัดทำรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องทำ
    – แบ่งตามช่วงเวลา
    – ระบุงบประมาณ
    – ระบุวิธีการวัดล ประเมินผลกิจกรรม
    – ระบุผู้รับผิดชอบ
  10. แผนฉุกเฉิน
    แผนฉุกฉิน เป็นแผนสุดท้ายที่จำเป็นต้องมีเพื่อเอาไว้รับมือกับสถานการณ์ที่ไม่ได้ คิดไว้ล่วงหน้าหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น คู่แข่งขายสินค้าตัดราคา สินค้าถูกเลียนแบบ หรือวัตถุดิบไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้กิจการได้รับผลในด้านลบ ผู้ประกอบการควรอธิบายเรื่องความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นควบคู่กับแผนฉุกเฉิน เอาไว้ล่วงหน้า เพราะนอกจากจะได้เป็นการเตรียมการในการแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้ผู้ร่วมลงทุน และสถาบันการเงินเห็นความพร้อมของเราอีกด้วย

Sources : https://nanasara.net/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect