ข่าวสาร

Feasibility Study คืออะไร และจำเป็นอย่างไรกับการทำ Business Plan

Feasibility Study คืออะไร และจำเป็นอย่างไรกับการทำ Business Plan

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Feasibility Study หรือแปลตรงๆว่า “การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ” แต่จริงๆแล้วการศึกษานั้นต้องศึกษาอะไรบ้าง และต้องศึกษาตอนไหน วันนี้ NEO Academy จะพาไปสรุปหัวใจของการทำ Feasibility Study และความสำคัญของมันให้เข้าใจด้วยกัน

1. Feasibility คือ “การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ” ดังนั้นการที่เราจะทำ Feasibility Study ได้นั้นเราต้องมี “โครงการ” ก่อน แต่ในที่นี้คำว่าโครงการอาจจะเป็นแค่เพียง ความฝัน หรือไอเดีย คร่าวๆก็ได้ แต่เราไม่สามารถที่จะทำ Feasibility Study ได้ ถ้าเราไม่มีไอเดียใดๆ ทางธุรกิจ เพราะเราจะไม่สามารถหาข้อมูลมาประกอบได้

2. ความเป็นไปได้ของโครงการมาจากอะไรบ้าง? หลายคนอาจจะคิดว่าจริงๆแล้ว คำว่า Feasibility ของโครงการนั้นเป็นแค่เรื่องของการเงินเท่านั้น ซึึ่งไม่จริง การประเมิน “ความเป็นไปได้” ของโครงการนั้น นักธุรกิจหรือนักลงทุนจำเป็นต้องมองความเป็นไปได้ในหลายๆด้านประกอบกัน ได้แก่

Market Feasibility – ความเป็นไปได้ในแง่การตลาดว่าสินค้าหรือบริการที่เราทำนั้น มีความต้องการในตลาดและเป็นความต้องการที่มีปริมาณมากเพียงพอที่เราจะสร้างธุรกิจได้

Production Feasibility – ความเป็นไปได้ในเชิงการผลิต ดูว่าจริงๆแล้ว สินค้าหรือบริการนั้นๆที่เราจะทำ เราสามารถที่จะ ‘ผลิต’ ได้จริงไหม ในเชิงคุณภาพ ราคา ปริมาณ และเวลา

Law & Regulation Feasibility – ความเป็นไปได้ในเชิงกฏหมาย ข้อบังคับต่างๆ หลายครั้งที่นักธุรกิจหลายคนตกม้าตายเพราะสินค้าและบริการหลายอย่างที่เราทำนั้นไม่ผ่านกฏข้อบังคับ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น นักพัฒนาที่ดินต้องเข้าใจประเภทของสีที่ดินต่างๆว่ามีบทบังคับในการสร้างอาคารประเทภต่างๆอย่างไร

Business Model Feasibility – ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของรูปแบบ Business Model คือรูปแบบการสร้างรายได้ และกำไรที่เหมาะสมที่ธุรกิจทำได้ นักธุรกิจต้องดูความเป็นไปได้ในการใช้ Business Model ให้เหมาะกับประเภทธุรกิจ และดูว่าธุรกิจที่เราทำนั้นมีกำไรที่เหมาะสมที่สามารถทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้

Financial Feasibility – ความเป็นไปได้ในทางการเงิน ทุกธุรกิจต้องจบด้วยตัวเลข ดังนั้นนักธุรกิจต้องเข้าใจความเป็นไปได้ของตัวเลขในแง่มุมต่างๆ เช่น ความเป็นไปได้ของจำนวนเงินลงทุนที่สามารถจัดหามาได้ หรือความเป็นไปได้ในการบริหารกระแสเงินสดของธุรกิจ หรือแม้แต่ความเป็นไปได้ในแง่ของความคุ้มทุนในการลงทุนต่างๆของโครงการ

3. ทุกธุรกิจควรทำ Feasibility Study ไหม และควรทำเมื่อไร? แม้จะมีคำกล่าวที่ชอบพูดกันในวงการธุรกิจว่า “คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด” แต่อย่างน้อยที่สุดการได้คิดก่อนทำ ก็น่าจะดีกว่าทำไปโดยที่ไม่ได้คิดอะไร การทำ Feasibility Analysis จะช่วยให้ผู้ทำสามารถเก็บข้อมูลต่างๆเพื่อเอามาใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล

4. ทุกการทำ Feasibility ไม่จำเป็นต้องจบด้วย “ความเป็นไปได้” ถ้ามัน “เป็นไปไม่ได้” ก็ยังไม่ต้องทำ

หลายคนอาจจะคิดว่าการศึกษาความเป็นได้ของโครงการต้องมีจุดจบ Happy Ending เสมอไปด้วยการสร้างโครงการ แต่จริงๆแล้วไม่ได้เป็นแบบนั้น ตอนจบของ Feasibility Analysis ก็แค่จบว่า ทำ หรือไม่ทำ หรือยังไม่ทำ แค่นั้นเอง

5. Feasibility (การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ) คือ หัวใจของการทำ Business Plan (แผนธุรกิจ) หลายคนอาจยังสงสัยบ้างว่าจริงๆ Feasibility Study กับ Business Plan เป็นเรื่องเดียวกันไหมและเกี่ยวข้องกันอย่างไร จริงๆการทำ Feasibility Study ที่ดี ในการศึกษาความเป็นไปได้ในทุกแง่มุม แล้วนั้นก็ย่อมทำให้นักธุรกิจสามารถที่จะวางแผนธุรกิจได้แม่นยำและดีขึ้นนั่นเอง และถ้าแผนธุรกิจนั้นมีรายละเอียดที่ดีที่สอดรับกับข้อมูลจากการศึกษาความเป็นไปได้แล้วนั้น ก็ย่อมที่จะทำให้นักธุรกิจสามารถนำแผนธุรกิจที่เขียนไปประยุกต์ใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเอาไปใช้เป็นเอกสารต่างๆในการยื่นกู้กับสถาบันการเงิน หรือแม้แต่เอาไปใช้เป็นพิมพ์เขียวหรือแผนที่ในการดำเนินธุรกิจนั้นเอง

Credit Source: https://www.neobycmmu.com/post/feasibility-study

ติดต่อเราได้ที่

Website: https://surveymarketthailand.com/serviceth/

LINE Official: https://lin.ee/n7IgL9I

Facebook: https://www.facebook.com/Surveymarketth

หากเพื่อนๆ สนใจเพื่อนๆ สามารถ Inbox เข้ามาสอบถามและใช้บริการเราได้เลยครับ

#SurveyMarketThailand #BusinessPlan #FeasibilityStudy #Business #Plan #รับเขียนแผนธุรกิจ #รับทำFeasibilityStudy

Share this post

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect