DeFi คืออะไร?
DeFi ย่อมาจาก “Decentralized Finance” คำที่ครอบคลุมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ไร้ตัวกลาง เช่น cryptocurrencies และ blockchain ถึงแม้ว่า cryptocurrencies เช่น Bitcoin จะมีอยู่มานานมากกว่าหนึ่งทศวรรษแล้วนั้น Bitcoin เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ DeFi ทั้งหมด ในขณะนี้การทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ เช่น การกู้ยืมเงิน ก็ยังคงต้องทำผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคารต่าง ๆ อยู่ ซึ่งนี่เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา DeFi ในยุคปัจจุบันให้ครอบคลุมการกู้ยืมโดยไร้ตัวกลางมากขึ้น พัฒนาต่อจาก cryptocurrencies
DeFi ต่างจาก FinTech อย่างไร?
FinTech นั้น เกิดขึ้นจากปัญหาความล่าช้าและต้นทุนที่สูงของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตัวกลาง และการเข้าถึงประชากร แต่ FinTech นั้นยังคงอยู่ภายใต้การทำงานของธนาคารอยู่
DeFi แตกต่างจาก FinTech ตรงที่ DeFi ตัดตัวกลาง เช่น ธนาคาร ออกไปจากการทำธุรกรรมทางการเงินโดยให้ผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินมีอำนาจในการทำธุรกรรมมากขึ้น และรวดเร็วมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณซื้อกาแฟที่ Starbucks ปัจจุบันเมื่อคุณทำการจ่ายค่ากาแฟ จะมีตัวกลาง เช่น ธนาคาร ที่ความคุมธุรกรรมทางการเงินของคุณอยู่ แต่ในโลกของ DeFi นั้น ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะไม่อยู่ในการทำธุรกรรมทางการเงินนี้ และ ธุรกรรมทางการเงินจะถูกทำผ่าน สมุดจดบัญชีที่เปิดเผยสู่สาธารณะแทนการมีสถาบันทางการเงินแบบเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม DeFi ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อการทำธุรกรรมโดยตรงเท่านั้น DeFi ยังมีเป้าหมายที่จะทำให้การกู้ยืมเงิน หารแลกเปลี่ยนค่าเงิน และ asset tokenization เป็นไปได้มากขึ้น
รูปแบบของ DeFi ในปัจจุบัน
1. Smart Contracts moving trust from intermediaries to machine trust
ข้อตกลงภายใน DeFi อยู่ภายใต้สัญญา (contract) อัจฉริยะ ซึ่งสัญญาอัจฉริยะคือสัญญาที่ดำเนินการด้วยตนเองซึ่งข้อกำหนดและเงื่อนไขจะได้รับการกำหนดและบังคับใช้ผ่านระบบอัตโนมัติ และตราขึ้นอย่างอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพบน blockchain โดยระบบที่เชื่อถือได้แสดงผล “บุคคลที่สามที่เชื่อถือได้” เนื่องจากระบบช่วยให้ผู้ใช้ทราบทรัพย์สินที่คู่สัญญาถือครองโดยไม่จำเป็นต้องทราบข้อมูลประจำตัวของตน
2. Interoperability and Composability
ระบบ DeFi เป็นระบบแบบ peer-to-peer ที่สร้างขึ้นบน Ethereum blockchain เป็นส่วนใหญ่ สิ่งนี้ทำให้การควบคุมและความเป็นอิสระกลับมาอยู่ในมือของผู้ใช้ ที่สามารถโต้ตอบกันผ่าน dApps (แอปพลิเคชันที่กระจายอำนาจ) ลักษณะของระบบนิเวศแบบ open source และโปร่งใสช่วยให้เกิดความสามารถในการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้นักพัฒนา (developers) สามารถรีมิกซ์และรวมส่วนประกอบซอฟต์แวร์เพื่อสร้างแอปพลิเคชันใหม่ได้ วิธีนี้ช่วยยกระดับชุมชนและเครือข่ายที่แข็งแกร่งของ DeFi เพื่อให้นักพัฒนาสามารถต่อยอดจากสิ่งที่คนอื่นสร้างไว้แล้วได้
3. Privacy Defi
DeFis ยังให้ความเป็นส่วนตัวสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องเก็บข้อมูลบางอย่างไว้เป็นความลับ โปรโตคอล ZKP (Zero-Knowledge-Proof) อนุญาตให้แอปพลิเคชัน DeFi ยังคงตรวจสอบและติดตามได้ในขณะที่ข้อมูลไม่จำเป็นต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ
การนำ DeFi ไปใช้
มีแอปพลิเคชันที่เป็นไปได้มากมายสำหรับการนำ DeFi ไปประยุกต์ใช้ ตัวอย่างเช่นภาพด้านล่างที่รวบรวมนวัตกรรม DeFi ต่าง ๆ ตั้งแต่จัดการสินทรัพย์และการให้กู้ยืมไปจนถึงแพลตฟอร์มการประกันภัย
สรุป
โดยสรุปแล้วแนวคิดและวิสัยทัศน์ของ DeFi คือ การนำเสนอบริการทางการเงินที่มีอยู่ทั้งหมด (หรือเกือบทั้งหมด) ที่สถาบันการเงินส่วนกลางแบบดั้งเดิมเสนอให้ แต่อยู่ใน blockchain แทน เป็นการสร้างระบบการเงินและบริการที่ใช้ blockchain ทำให้บริการทางการเงินทั่วไปถูกสร้างขึ้นโดยสร้างแอปพลิเคชันใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะเฉพาะของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ไร้สถาบันทางการเงินเป็นตัวกลาง สุดท้ายหากคุณสนใจคอนเทนต์ดีๆสามารถหาอ่านจากที่